วัฒนธรรมกลุ่มดนตรีอีสานใต้
นพพร บุญคู่(ประตูสู่อีสาน.ดนตรีอีสานใต้,2549) ได้กล่าวไว้ว่า วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมมาจากเขมร-ส่วย
หรือกลุ่มเจรียง-กันตรึม และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือกลุ่มเพลงโคราช
ในที่นี้จะเน้นเฉพาะกลุ่มเจรียง-กันตรึม และเครื่องดนตรีอีสานก็สามารถแบ่งออกได้เหมือนกันกับคนตรีในภาคอื่นๆ
คือ ดีด สี ตี เป่า และมีรายละเอียดดังนี้
ประเภทเครื่องดีด
1.พิณกระแสเดียวหรือ กระแสมุย แปลว่า
พิณเสียงเดียวหรือพิณสายเดียว
กระโหลกพิณทำด้วยลูกน้ำเต้าแก่จัดตากให้แห้งตัดครึ่งด้านขวางของผล
แกะเมล็ดในและเยื่อออกให้หมด
ใช้หวายขันชะเนาะกระโหลกน้ำเต้าให้ติดกับโคนของคันพิณลูกบิดอยู่ทางด้านโคน
สุดของคันพิณขึงโยงด้วยสายโลหะ
จากลูกบิดสอดหวายที่ขันชะเนาะอยู่ไปผูกกับปลายคันพิณ
ตอนปลายสุดมีลักษณะงอนเป็นรูปพระยานาคชูหัว ซึ่งชาวไทยภาคกลางเรียกว่า พิณน้ำเต้า
2.จาเป่ย หรือ กระจับปี่ มีลักษระคล้าย ซึง
มีสายคู่ซึ่งสายแต่ละคู่ตั้งเสียงให้เท่ากัน คันพิณทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
ส่วนกล่องเสียงจะทำด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ที่ส่วนปลายสุดของคันพิณมีรู 4 รู เพื่อใส่ลูกบิดและร้อยสาย
และที่คันพิณจะมีที่วางนิ้วซึ่งขัดไว้เป็นระยะๆ
3.อังกุ๊ยจ์ ชาวไทยภาคกลางเรียกว่า
จ้องหน่อง ลักษณะเดียวกันกับ หุน หรือ หืน ทำด้วยไม้ไผ่
ประเภทเครื่องสี
เครื่องดนตรีที่ใช้สีด้วยคันชักหรือคันสีที่รู้จักกันดี ได้แก่ ซอกันตรึม หรือ
ตรัว
ลักษณะของวอกันตรึมนี้ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับซอด้วงและซออู้ที่ใช้ในวงดนตรีไทยในปัจจุบัน
ในอีสานใต้นี้พบว่ามีใช้กันอยู่ 4
ขนาด
4.ซอเล็ก หรือ ตรัวจ์
ซึ่งมีรูปร่างคล้ายซอด้วง แต่มีเสียงสูงและแหบกว่า
5.ซอกลาง หรือ ตรัวซอ
มีขนาดใหญ่กว่าซอเล็ก
6.ซอใหญ่ หรือ ตรัวซอ
มีขนาดใหญ่ที่สุด
7.ซออู้ หรือ ตรัวอู
มีลักษณะคล้ายซออู้ตามปกติ
ซอทั้ง 4
ขนาดมีรูปร่างไม่แตกต่างกันมากนัก ต่างกันเฉพาะขนาดและวัสดุที่ใช้ทำกระโหลกซอเท่านั้น
ซอเล็กนั้นบางครั้งพบว่าใช้เขาควายมาทำเป็นกระโหลก
แต่ซอกลางและซอใหญ่นั้นนิยมใช้ไม้ขนุนหรือไม้เนื้อแข็ง
ส่วนซออู้นั้นกระโหลกซอจะใช้กะลามะพร้าวขนาดใหญ่ และใช้หนังงูเหลือม
หรือหนังตะกวดปิดหน้ากระโหลกซอ วงกันตรึมในปัจจุบันนิยมใช้ซอกลางและซออู้บรรเลงในงานทั่วๆ
ไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น