วิวัฒนาการของเครื่องดนตรีไทยในสมัยต่างๆ
สมัยสุโขทัย
ชาวไทยมีความสนุกสนานกับการเล่นดนครีและร้องเพลงกันมากดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่
1 ว่า "ดบงคมกลอง ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ
ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน"
ซึ่งแลดงถึงการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทตี เป่า ดีด และสี คือ กลอง ปี่ พิณ
และเครื่องดนตรีทีมีสายไว้สีได้
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานของล้านนาไทยที่มีศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกันในหลักศิลาจารึกในวัดพระยืน
จังหวัดลำพูน ที่จารึกไว้ว่า "ให้ถือกระทงข้างตอกดอกไม้ไต้เทียน
ตีพาทย์ดังพิณฆ้องกลอง ปี่สรไนพิสเนญชัยทะเทียดกาหลแตรสังมาลย์กังสดาล
มรทงค์ดงเดือด เสียงเลิศเสียงก้อง
อีกทั้งคนร้องโห่อื้อดาสรท้านทั่งทั้งนครหริภุญชัย แล"
ซึ่งแสดงถึงเครื่องดนตรีบรรเลงในวงดนตรี
และประชาชนนำมาเล่นเพื่อความสนุกสนานครึกครื้นกัน
ดังนั้นจึงสามารถกล่าวถึงเครื่องดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยได้จากวงดนตรีไทยในสมัยนั้น
ได้แก่ วงแตรสังข์ ที่ใช้บรรเลงในพระราชพิธีต่าง ๆ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีแตรฝรั่ง
แตรงอน ปี่ไฉนแก้ว กลองชนะ บัณเฑาะว์ และมโหระทึก วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบด้วย
ปี่ใน ฆ้องวง ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีเช่น พิณ
และซอสามสาย อยู่ในสมัยนั้นอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น