ประเภทเครื่องตี
หมายถึง เครื่องดนตรีประเภทตีดำเนินทำนอง ได้แก่
ซอปี๊บ ซอกระบอก ซอกระบอก โปงลาง ซอกระป๋อง
ซอปิ๊บ ซอกระบอก โปงลาง
1.โปงลาง มีลักษณะคล้ายระนาดแต่มีขนาดใหญ่
เดิมทีโปงลางเป็นชื่อของกระดึงที่แขวนคอวัวต่าง
เป็นสัญญาณระหว่างการเดินทางไปค้าขาย
ส่วนโปงที่เป็นเครื่องดนตรีเดิมชาวบ้านในจังหวัดกาฬสินธุ์เรียกว่า “ขอลอ” โปงลางทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้หมากเหลื่อม
ไม้สมอป่า ไม้พยุง ไม้ประดู่ ไม้ขนุน แต่ที่นิยมว่าให้เสียงไพเราะที่สุดได้แก่
ไม้มะหาด ที่ตายยืนต้นมาแล้วประมาณ 3 ปี
โปงลางจะประกอบด้วยลูกระนาดหรือไม้ท่อนโตขนาดแขนจำนวน
12 ท่อน เรียงจากขนาดใหญ่ไปหาเล็กหรือระดับเสียงต่ำไปหาสูง
ท่อนยาวที่สุดประมาณฟุตครึ่ง และสั้นที่สุดประมาณ 1 ฟุต
ถากตรงกลางให้บางเพื่อปรับระดับเสียงแล้วใช้เชือกร้อยเป็นผืนไม่ต้องใช้รางอย่างระนาด
แต่ใช้แขวนไว้กับหลักหรือเสาแต่ไม่ให้ท่อนล่างชิดพื้น
เสียงโปงลางประกอบด้วยเสียงห้า คือ เสียง โด เร มี ซอล ลา
ในการตีโปงลางนิยมใช้คนบรรเลง 2 คน แต่ละคนใช้ไม้ตีสองอัน
คนหนึ่งตีเสียงทำนองเพลงตามลายต่างๆ เช่นเดียวกับพิณหรือแคน
อีกคนหนึ่งตีเสียงเสริมประสาน
2.กลอง ในภาคอีสานมีกลองที่ใช้ในการบรรเลงดนตรีประกอบจังหวะหลายประเภท เช่น
- กลองยาวหรือกลองหาง
เป็นกลองขึ้นหนังหน้าเดียว ตัวกลองทำด้วยไม้จริง เช่น ไม้มะม่วง
ตอนหน้าใหญ่ตอนท้ายมีลักษณะเรียว
มีหลายขนาดตรงกลางของหน้ากลองจะติดข้าวสุกบดผสมขี้เถ้าถ่วงเสียงตัวกลองยาวนั้น
- กลองเส็ง หรือ กลองกิ่ง
หรือ กลองแต้ เป็นกลองคู่ประเภทหน้าเดียว นิยมใช้สำหรับการแข่งขันประลองความดังกัน
หรืออาจใช้สำหรับตีในงานบุญต่างๆ เช่น งานบุญบั้งไฟ
การตีกลองเส็งจะใช้ไม้ตีซึ่งนิยมใช้ไม้เค็ง (ไม้หยี)
เพราะเหนียวและทนทานกว่าไม้ชนิดอื่นๆ
- กลองตุ้ม
เป็นกลองสองหน้าคล้ายกับตะดพน
แต่ต่างจากตะดพนตรงที่หน้ากลองตุ้มทั้งสองหน้ามีขนาดเท่ากัน
ส่วนใหญ่ใช้ตีประกอบกับกลองยาวในขบวนแห่หรือขบวนฟ้อนในเทศกาลต่างๆ
- กลองตึ้ง
เป็นกลองรำมะนาขนาดใหญ่ที่ใช้ในวงกลองยาว เวลาตีต้องใช้คนสองคนหาม
และให้คนที่หามอยู่ข้างหลังเป็นคนตีไปด้วย
- กลองกาบบั้ง หรือ
กลองกาบเบื้อง เป็นกลองรำมะนาเป็นกลองหน้าเดียวหรือเบื้องเดียว
นิยมใช้ตีผสมวงกับกลองตุ้มและกลองยาว
1.ผ่างฮาด หรือ ฆ้องโหม่ง
แบบโบราณชนิดที่ไม่มีปุ่มนูนตรงกลางเหมือนฆ้องทั่วๆ ไป
คือแผ่นหน้าของผ่างฮาดจะเรียบเสมอกันหมด
นิยมใช้ตีผสมกับเครื่องกำกับจังหวะในขบวนฟ้อนผู้ไท ฟ้อนเซิ้งบั้งไฟ
2.หมากกับแก๊บ หรือ หมากก๊อบแก๊บ
หรือ กรับคู่ เป็นกรับพื้นเมืองอีสานทำด้วยไม้ธรรมดาสองชิ้น
จักเป็นร่องฟันใช้ครูดหรือกรีดตามจังหวะ
สมบัติ ศรีสิงห์(ดนตรีพื้นบ้านอีสาน,2549) ได้กล่าวไว้ว่า นอกจากเครื่องดนตรีเหล่านี้แล้ว
ยังมีเครื่องดนตรีประเภทตีทำด้วยโลหะอีกหลายชิ้น เช่น ฉิ่ง ฉาบ ซึ่งภาษาอีสานเรียกว่า
สิ่ง แส่ง
ผ่างฮาด กลอง แคน โหวด
ผ่างฮาด
ประเภทเครื่องเป่า
1.แคน
เครื่องเป่าที่เรารู้จักกันดีและแพร่หลาย
เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวอีสาน
รายละเอียดเกี่ยวกับแคนเพิ่มเติมคลิกที่นี่ เสียงของแคนมีความไพเราะแสดงได้ทั้งอารมณ์สนุกสนาน
เศร้าสร้อย การเป่าแคนจะมีท่วงทำนองซึ่งเรียกกันว่า ลายแคน เช่น ลายสุดสะแนน
ลายลมพัดไผ่ ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ฯลฯ
2.โหวต
เป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยลูกแคนแต่ไม่มีลิ้น โดยนำเอากู่แคนจำนวนประมาณ 7 ถึง 12 อันมาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกันให้ปลายทั้งสองข้างเปิด
ปลายด้านล่างใช้ขี้สูตรปิดให้สนิท ส่วนปลายบนเปิดไว้สำหรับเป็นรูเป่า
โดยนำเอากู่แคนมารวมกันเข้ากับแกนไม้ไผ่ที่อยู่ตรงกลาง
จัดลุกแคนล้อมรอบในลักษณะทรงกลม ตรงหัวโหวตใช้ขี้สูตรก่อเป็นรูปกรวยแหลม เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับจรดฝีปากด้านล่าง
และให้โหวตหมุนได้รอบทิศเวลาเป่า
3.ปี่ผู้ไท
เป็นปี่ที่ทำจากไม้กู่แคน โดยเอากู่แคนมาปล้องหนึ่งตัดโดยเปิดปลายข้างหนึ่ง
และขังข้ออีกด้านหนึ่งตรงปลายด้านที่บั้งข้อเจาะช่องสำหรับใส่ลิ้นที่ทำด้วยทองเหลือง
เจาะรูเยื่อ 1 รู และรูนับ 5 รู
ปรับเสียงให้เท่ากับเสียงแคน
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงการฟ้อนของอีสานเหนือดั้งเดิม
จะใช้เครื่องดนตรีหลักเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งชนิดเดียว เช่น ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนผีหมอ
จะใช้แคน ฟ้อนกลองตุ้มจะใช้กลองตุ้มอย่างเดียว แต่ในการแสดงชุดที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในยุคหลังจะใช้ดนตรีลักษณะผสมวงหลายชิ้น
เช่น พิณ แคน โปงลาง กลอง ฯลฯ ผสมกัน