วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

เครื่องดนตรี อีสาน 10

ประเภทเครื่องเป่า




1.             ปี่อ้อ หรือ แบ็ยอด เป็นปี่ที่ทำจากไม้ไผ่ ส่วนที่เป็นตัวปี่ทำด้วยไม้อ้อ โดยเหลาปลายข้างใดข้างหนึ่งจนบางแล้วบีบให้แบนประกบกันในลักษณะลิ้นคู่ แต่ที่ปลายลิ้นยังมีลักษณะกลมเพื่อสอดส่วนที่เป็นท่อนปลายของตัวปี่ และใช้ไม้ไผ่หรือหวายเล็กบีบประกบกัน เพื่อให้ปลายลิ้นของปี่มีรูปร่างคงเดิมอยู่เสมอ ลำตัวของปี่อ้อจะเจาะรูด้านบน 7 รู และด้านล่างอีก 1 รูไว้สำหรับปิดเปิดเปลี่ยนระยะทางเดินของลมเวลาเป่า





                      2.ปี่สไนง์ หรือ สแนง เป็นปี่ชนิดหนึ่งที่ทำมาจากเขาควาย โดยเจาะช่องด้านบนของเขาควาย ใส่ลิ้น           อย่างแคน ผนึกด้วยขี้สูดให้สนิท ใช้เชือกผูกปลายเขาทั้งสองข้างแขวนคอแล้วใช้ปากเป่า โดยใช้อุ้งมือขวา     ปิดเปิดเพื่อควบคุมระดับเสียง
           ปี่ที่ใช้ในวงกันตรึม
      ปี่ไฉน         ปี่ไสน       ปี่เน       แป็ยออ       ปี่อ้อ           อังกุ๊ยส์


เครื่องดนตรีอีสาน 9

ประเภทเครื่องตี ได้แก่ 





                     1. กลองกันตรึม หรือ สะกัว มีลักษณะเป็นกลองขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายโทนดินเผา ตัวกลองขุดจากไม้ขนุน หรือลำต้นมะพร้าวโดยกลึงภายนอกให้ได้รูปร่างเสียก่อน จึงเจาะคว้านภายในให้เป็นโพรงกลวง ใช้หนังวัวหรือหนังงูเหลือมหุ้มปากกลอง
                      2.นอกจากนี้ยังมีเครื่องตีอื่นๆ อีก เช่น ระนาดเอก ฆ้องวง ฆ้องราว ฆ้องหุ่ย กลองรำมะนา กลองตะโพน ฉิ่ง ฉาบ
กลองกันตรึม

กลองกันตรึม ปี่เญ็น    ปี่อังกอ, ปี่จรุง, ปี่โจร่ง

เครื่องดนตรีอีสาน 8

วัฒนธรรมกลุ่มดนตรีอีสานใต้
              นพพร  บุญคู่(ประตูสู่อีสาน.ดนตรีอีสานใต้,2549) ได้กล่าวไว้ว่า วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมมาจากเขมร-ส่วย หรือกลุ่มเจรียง-กันตรึม และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือกลุ่มเพลงโคราช ในที่นี้จะเน้นเฉพาะกลุ่มเจรียง-กันตรึม และเครื่องดนตรีอีสานก็สามารถแบ่งออกได้เหมือนกันกับคนตรีในภาคอื่นๆ คือ ดีด สี ตี เป่า และมีรายละเอียดดังนี้
ประเภทเครื่องดีด      



             1.พิณกระแสเดียวหรือ กระแสมุย แปลว่า พิณเสียงเดียวหรือพิณสายเดียว กระโหลกพิณทำด้วยลูกน้ำเต้าแก่จัดตากให้แห้งตัดครึ่งด้านขวางของผล แกะเมล็ดในและเยื่อออกให้หมด ใช้หวายขันชะเนาะกระโหลกน้ำเต้าให้ติดกับโคนของคันพิณลูกบิดอยู่ทางด้านโคน สุดของคันพิณขึงโยงด้วยสายโลหะ จากลูกบิดสอดหวายที่ขันชะเนาะอยู่ไปผูกกับปลายคันพิณ ตอนปลายสุดมีลักษณะงอนเป็นรูปพระยานาคชูหัว ซึ่งชาวไทยภาคกลางเรียกว่า พิณน้ำเต้า
             2.จาเป่ย หรือ กระจับปี่ มีลักษระคล้าย ซึง มีสายคู่ซึ่งสายแต่ละคู่ตั้งเสียงให้เท่ากัน คันพิณทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ส่วนกล่องเสียงจะทำด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ที่ส่วนปลายสุดของคันพิณมีรู 4 รู เพื่อใส่ลูกบิดและร้อยสาย และที่คันพิณจะมีที่วางนิ้วซึ่งขัดไว้เป็นระยะๆ




3.อังกุ๊ยจ์ ชาวไทยภาคกลางเรียกว่า จ้องหน่อง ลักษณะเดียวกันกับ หุน หรือ หืน ทำด้วยไม้ไผ่
ประเภทเครื่องสี เครื่องดนตรีที่ใช้สีด้วยคันชักหรือคันสีที่รู้จักกันดี ได้แก่ ซอกันตรึม หรือ ตรัว ลักษณะของวอกันตรึมนี้ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับซอด้วงและซออู้ที่ใช้ในวงดนตรีไทยในปัจจุบัน ในอีสานใต้นี้พบว่ามีใช้กันอยู่ 4 ขนาด
4.ซอเล็ก หรือ ตรัวจ์ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายซอด้วง แต่มีเสียงสูงและแหบกว่า
5.ซอกลาง หรือ ตรัวซอ มีขนาดใหญ่กว่าซอเล็ก
6.ซอใหญ่ หรือ ตรัวซอ มีขนาดใหญ่ที่สุด
7.ซออู้ หรือ ตรัวอู มีลักษณะคล้ายซออู้ตามปกติ

ซอทั้ง 4 ขนาดมีรูปร่างไม่แตกต่างกันมากนัก ต่างกันเฉพาะขนาดและวัสดุที่ใช้ทำกระโหลกซอเท่านั้น ซอเล็กนั้นบางครั้งพบว่าใช้เขาควายมาทำเป็นกระโหลก แต่ซอกลางและซอใหญ่นั้นนิยมใช้ไม้ขนุนหรือไม้เนื้อแข็ง ส่วนซออู้นั้นกระโหลกซอจะใช้กะลามะพร้าวขนาดใหญ่ และใช้หนังงูเหลือม หรือหนังตะกวดปิดหน้ากระโหลกซอ วงกันตรึมในปัจจุบันนิยมใช้ซอกลางและซออู้บรรเลงในงานทั่วๆ ไป


เครื่องดนตรีอีสาน 7

ประเภทเครื่องตี หมายถึง เครื่องดนตรีประเภทตีดำเนินทำนอง ได้แก่
                ซอปี๊บ ซอกระบอก  ซอกระบอก  โปงลาง  ซอกระป๋อง ซอปิ๊บ  ซอกระบอก  โปงลาง
                1.โปงลาง มีลักษณะคล้ายระนาดแต่มีขนาดใหญ่ เดิมทีโปงลางเป็นชื่อของกระดึงที่แขวนคอวัวต่าง เป็นสัญญาณระหว่างการเดินทางไปค้าขาย ส่วนโปงที่เป็นเครื่องดนตรีเดิมชาวบ้านในจังหวัดกาฬสินธุ์เรียกว่า ขอลอโปงลางทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้หมากเหลื่อม ไม้สมอป่า ไม้พยุง ไม้ประดู่ ไม้ขนุน แต่ที่นิยมว่าให้เสียงไพเราะที่สุดได้แก่ ไม้มะหาด ที่ตายยืนต้นมาแล้วประมาณ 3 ปี
โปงลางจะประกอบด้วยลูกระนาดหรือไม้ท่อนโตขนาดแขนจำนวน 12 ท่อน เรียงจากขนาดใหญ่ไปหาเล็กหรือระดับเสียงต่ำไปหาสูง ท่อนยาวที่สุดประมาณฟุตครึ่ง และสั้นที่สุดประมาณ 1 ฟุต ถากตรงกลางให้บางเพื่อปรับระดับเสียงแล้วใช้เชือกร้อยเป็นผืนไม่ต้องใช้รางอย่างระนาด แต่ใช้แขวนไว้กับหลักหรือเสาแต่ไม่ให้ท่อนล่างชิดพื้น เสียงโปงลางประกอบด้วยเสียงห้า คือ เสียง โด เร มี ซอล ลา ในการตีโปงลางนิยมใช้คนบรรเลง 2 คน แต่ละคนใช้ไม้ตีสองอัน คนหนึ่งตีเสียงทำนองเพลงตามลายต่างๆ เช่นเดียวกับพิณหรือแคน อีกคนหนึ่งตีเสียงเสริมประสาน
                 2.กลอง ในภาคอีสานมีกลองที่ใช้ในการบรรเลงดนตรีประกอบจังหวะหลายประเภท เช่น
กลองยาวหรือกลองหาง เป็นกลองขึ้นหนังหน้าเดียว ตัวกลองทำด้วยไม้จริง เช่น ไม้มะม่วง ตอนหน้าใหญ่ตอนท้ายมีลักษณะเรียว มีหลายขนาดตรงกลางของหน้ากลองจะติดข้าวสุกบดผสมขี้เถ้าถ่วงเสียงตัวกลองยาวนั้น
กลองเส็ง หรือ กลองกิ่ง หรือ กลองแต้ เป็นกลองคู่ประเภทหน้าเดียว นิยมใช้สำหรับการแข่งขันประลองความดังกัน หรืออาจใช้สำหรับตีในงานบุญต่างๆ เช่น งานบุญบั้งไฟ การตีกลองเส็งจะใช้ไม้ตีซึ่งนิยมใช้ไม้เค็ง (ไม้หยี) เพราะเหนียวและทนทานกว่าไม้ชนิดอื่นๆ
กลองตุ้ม เป็นกลองสองหน้าคล้ายกับตะดพน แต่ต่างจากตะดพนตรงที่หน้ากลองตุ้มทั้งสองหน้ามีขนาดเท่ากัน ส่วนใหญ่ใช้ตีประกอบกับกลองยาวในขบวนแห่หรือขบวนฟ้อนในเทศกาลต่างๆ
กลองตึ้ง เป็นกลองรำมะนาขนาดใหญ่ที่ใช้ในวงกลองยาว เวลาตีต้องใช้คนสองคนหาม และให้คนที่หามอยู่ข้างหลังเป็นคนตีไปด้วย
กลองกาบบั้ง หรือ กลองกาบเบื้อง เป็นกลองรำมะนาเป็นกลองหน้าเดียวหรือเบื้องเดียว นิยมใช้ตีผสมวงกับกลองตุ้มและกลองยาว
1.ผ่างฮาด หรือ ฆ้องโหม่ง แบบโบราณชนิดที่ไม่มีปุ่มนูนตรงกลางเหมือนฆ้องทั่วๆ ไป คือแผ่นหน้าของผ่างฮาดจะเรียบเสมอกันหมด นิยมใช้ตีผสมกับเครื่องกำกับจังหวะในขบวนฟ้อนผู้ไท ฟ้อนเซิ้งบั้งไฟ
2.หมากกับแก๊บ หรือ หมากก๊อบแก๊บ หรือ กรับคู่ เป็นกรับพื้นเมืองอีสานทำด้วยไม้ธรรมดาสองชิ้น จักเป็นร่องฟันใช้ครูดหรือกรีดตามจังหวะ
                   สมบัติ  ศรีสิงห์(ดนตรีพื้นบ้านอีสาน,2549) ได้กล่าวไว้ว่า นอกจากเครื่องดนตรีเหล่านี้แล้ว ยังมีเครื่องดนตรีประเภทตีทำด้วยโลหะอีกหลายชิ้น เช่น ฉิ่ง ฉาบ ซึ่งภาษาอีสานเรียกว่า สิ่ง แส่ง

ผ่างฮาด กลอง   แคน โหวด   ผ่างฮาด
ประเภทเครื่องเป่า     




    
               1.แคน เครื่องเป่าที่เรารู้จักกันดีและแพร่หลาย เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวอีสาน รายละเอียดเกี่ยวกับแคนเพิ่มเติมคลิกที่นี่ เสียงของแคนมีความไพเราะแสดงได้ทั้งอารมณ์สนุกสนาน เศร้าสร้อย การเป่าแคนจะมีท่วงทำนองซึ่งเรียกกันว่า ลายแคน เช่น ลายสุดสะแนน ลายลมพัดไผ่ ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ฯลฯ


                  2.โหวต เป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยลูกแคนแต่ไม่มีลิ้น โดยนำเอากู่แคนจำนวนประมาณ 7 ถึง 12 อันมาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกันให้ปลายทั้งสองข้างเปิด ปลายด้านล่างใช้ขี้สูตรปิดให้สนิท ส่วนปลายบนเปิดไว้สำหรับเป็นรูเป่า โดยนำเอากู่แคนมารวมกันเข้ากับแกนไม้ไผ่ที่อยู่ตรงกลาง จัดลุกแคนล้อมรอบในลักษณะทรงกลม ตรงหัวโหวตใช้ขี้สูตรก่อเป็นรูปกรวยแหลม เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับจรดฝีปากด้านล่าง และให้โหวตหมุนได้รอบทิศเวลาเป่า




                 3.ปี่ผู้ไท เป็นปี่ที่ทำจากไม้กู่แคน โดยเอากู่แคนมาปล้องหนึ่งตัดโดยเปิดปลายข้างหนึ่ง และขังข้ออีกด้านหนึ่งตรงปลายด้านที่บั้งข้อเจาะช่องสำหรับใส่ลิ้นที่ทำด้วยทองเหลือง เจาะรูเยื่อ 1 รู และรูนับ 5 รู ปรับเสียงให้เท่ากับเสียงแคน
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงการฟ้อนของอีสานเหนือดั้งเดิม จะใช้เครื่องดนตรีหลักเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งชนิดเดียว เช่น ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนผีหมอ จะใช้แคน ฟ้อนกลองตุ้มจะใช้กลองตุ้มอย่างเดียว แต่ในการแสดงชุดที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในยุคหลังจะใช้ดนตรีลักษณะผสมวงหลายชิ้น เช่น พิณ แคน โปงลาง กลอง ฯลฯ ผสมกัน

เครื่องดนตรีอีสาน 6

วัฒนธรรมกลุ่มดนตรีอีสานเหนือ
ประเภทเครื่องดีด เครื่องดนตรีประเภทใช้ดีด ได้แก่
                     1.พิณพื้นเมือง ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปเช่น ซุง ซึง หมากจับปี่ หมากตดโต่ง หมากตับเต่ง เป็นต้น พิณทำด้วยไม้ เช่น ไม้ขนุน เพราะมีน้ำหนักเบาและให้เสียงทุ้มกังวานไพเราะกว่าไม้ชนิดอื่น มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่ฝีมือหยาบกว่า พิณอาจจะมี 2 สาย 3 สาย หรือ 4 สายก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 คู่ เป็นสายเอก 2 สาย และสายทุ้ม 2 สาย ดั้งเดิมใช้สายลวดเบรครถจักรยานเพราะคงทนและให้เสียงดังกว่าสายชนิดอื่น แต่ในปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทน การขึ้นสายไม่มีระบบแน่นอน นมหรือขั้นที่ใช้นิ้วกดบังคับระดับเสียงจะไม่ฝังตายตัวเหมือนกีตาร์หรือแมนโดลิน การเล่นก็เล่นเป็นเพลงเรียกว่าลาย โดยมากพิณจะเล่นคู่กันกับแคน
                     2.หุนหรือหืน เป็นเครื่องดีดที่ทำด้วยไม้ไผ่ ซึ่งชาวภาคกลางเรียกว่า จ้องหน่อง เวลาดีดต้องใช้ปากคาบไว้ที่กระพุ้งแก้ม ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเครื่องขยายเสียง หุนจะมีเสียงค่อนข้างเบา ดังนั้นจะดีดให้เป็นทำนองชัดเจนได้ยาก
                     3.โกย คือ หุนหรือจ้องหน่องที่ทำด้วยโลหะ นิยมเล่นกันในหมู่ผู้หญิงผู้ไทสมัยโบราณ
                     4.ไหซองหรือพิณไห เป็นพิณที่ทำมาจากไหน้ำปลาหรือไหใส่ปลาร้า นิยมทำเป็นชุดๆ ละหลายใบโดยมีขนาดลดหลั่นกัน ตรงปากไหใช้เส้นยางหนังสติกหรือเส้นยางที่ตัดมาจากยางในของรถจักรยานผูกและขึงผ่านให้ได้เสียงประสานกัน โดยทำหน้าที่ให้เสียงทุ้มคล้ายกีตาร์เบสของฝรั่ง
พิณ ซึง ซุง  พิณ_ไหซอง  พิณ ซึง ซุง  ไหซอง หรือ พิณไห
ประเภทเครื่องสี หมายถึง เครื่องดนตรีที่มีสายสีด้วยคันชัก หรือเครื่องสายตามการเรียกในภาคกลาง
                1.ซอพื้นเมือง แตกต่างจากซออื่นๆ เพราะซอพื้นเมืองของภาคอีสานแทนที่จะทำด้วยไม้กับกะลามะพร้าวแต่กลับทำด้วยไม้กับปี๊บหรือกระป๋อง ในบางครั้งก็เรียกว่า ซอปี๊บ หรือ ซอกระป๋อง ซอชนิดนี้มีอยู่ 2 สาย คันชักที่ใช้สีนั้นทำเช่นเดียวกับซอสามสาย คันชักของซอปี๊บจะอยู่ข้างนอก วิธีการสีเช่นเดียวกับซอสามสายหรือไวโอลิน การเล่นเพลงเช่นเดียวกับพิณ

                  2.ซอไม้ไผ่ หรือ ซอบั้ง ทำด้วยไม้ไผ่หนึ่งปล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณสองถึงสามนิ้ว ถากผิวออกจนเหลือกระบอกบางๆ เจาะรูให้เกิดโพรงเสียง ขึ้นสายสองสายไปตามยาวของปล้องไม้ไผ่ แล้วสีด้วยคันชัก ซอไม้ไผ่มีข้อเสียที่เสียงเบาเกินไป

                               

เครื่องดนตรีอีสาน 5

ความเป็นมาของเครื่องดนตรีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)
มีวิวัฒนาการมายาวนานนับพันปี เริ่มจากในระยะต้น มีการใช้วัสดุท้องถิ่นมาทำเลียนสียงจากธรรมชาติ ป่าเขา เสียงลมพัดใบไม้ไหว เสียงน้ำตก เสียงฝนตก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเสียงสั้นไม่ก้อง ในระยะต่อมาได้ใช้วัสดุพื้นเมืองจากธรรมชาติมาเป่า เช่น ใบไม้ ผิวไม้ ต้นหญ้าปล้องไม้ไผ่ ทำให้เสียงมีความพลิ้วยาวขึ้น จนในระยะที่ 3 ได้นำหนังสัตว์และเครื่องหนังมาใช้เป็นวัสดุสร้างเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะและรูปร่างสวยงามขึ้น เช่น กรับ เกราะ ระนาด ฆ้อง กลอง โปง โหวด ปี พิณ โปงลาง แคน เป็นต้น โดยนำมาผสมผสานเป็นวงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานที่มีลักษณะเฉพาะตามพื้นที่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอีสานเหนือ และอีสานกลางจะนิยมดนตรีหมอลำที่มีการเป่าแคนและดีดพิณประสานเสียงร่วมกับการขับร้อง ส่วนกลุ่มอีสานใต้จะนิยมดนตรีกันตรึมซึ่งเป็นดนตรีบรรเลงที่ไพเราะของชาวอีสานใต้ที่มีเชื้อสายเขมร นอกจากนี้ยังมีวงพิณพาทย์และวงมโหรีด้วยชาวบ้านแต่ละกลุ่มก็จะบรรเลงดนตรีเหล่านี้กันเพื่อ ความสนุกสนานครื้นเครง ใช้ประกอบการละเล่น การแสดง และพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ลำผีฟ้า ที่ใช้แคนเป่าในการรักษาโรค และงามศพแบบอีสานที่ใช้วงตุ้มโมงบรรเลง นับเป็นลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านอีสานที่แตกต่างจากภาคอื่น
ประเภทของเครื่องดนตรีอีสาน
ดนตรีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการฟ้อนรำซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะดนตรีนอกจากจะให้การฟ้อนเกิดความพร้อมเพรียงกันแล้ว ดนตรียังเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้ฟ้อนรู้สึกต้องการฟ้อนและฟ้อนอย่างมีความสุข ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนมีตั้งแต่ดนตรีชิ้นเดียวอย่างเสียงกระทบของสาก เสียงกลอง จนถึงการผสมวงมีเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน ดนตรีอีสานแบ่งออกตามกลุ่มวัฒนธรรม






เครื่องดนตรีอีสาน 4

สมัยธนบุรี
มีวงดนตรี 3 ประเภท เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา คือ วงปี่พาทย์ วงมโหรี และวงเครื่องสาย แต่มีเครื่องดนตรีของชาติต่างๆ เข้ามาในประเทศไทยหลายชนิด ดังปรากฏในหมายกำหนดการของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์รามัญ มโหรีไทย ฝรั่ง มโหรีญวน เขมร ผลัดเปลี่ยนกันสมโภช 2 เดือนกับ 12 วันในงานสมโภชพระแก้วมรกตเป็นต้น



สมัยรัตนโกสินทร์

มีความก้าวหน้าทางดนตรีมาก เริ่มจากสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เพิ่มกลองทัดขึ้นในวงปี่พาทย์เป็น 2 ลูก และเพิ่มระนาดในวงมโหรีปี่พาทย์อีก 1 ราง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 เริ่มมีปี่พาทย์บรรเลงประกอบเสภา จึงได้นำเปิงมางมาติดข้างสุกถ่วงเสียงให้ต่ำลง เรียกว่าสองหน้า ใช้ประกอบการบรรเลงประกอบเสภา และได้เพิ่มฆ้องวงในวงมโหรีด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีผู้สร้างระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กขึ้นมา ทำให้เกิดวงปี่พาทย์เครื่องคู่ขึ้นในสมัยนั้น ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีระนาดทีเปลี่ยนชื่อเป็นระนาดเอก เพื่อให้เข้าคู่กับระนาดแบบใหม่ ที่เพิ่มราง 1 ราง และสร้างขนาดใหญ่เรียกว่า ระนาดทุ้ม และฆ้องวงใหญ่ เพื่อให้เข้าคู่กับฆ้องวงเล็กที่สร้าง ขนาดเล็กลงเรียกว่า ฆ้องวงเล็ก นอกจากนี่ยังมีการนำปี่นอกเข้ามาผสมเข้าคู่กับปี่ใน และเครื่องดนตรีเดิม คือ ตะโพน กลองทัดและฉิ่งเช่นเดิม รวมทั้งมีวงมโหรีเครื่องคู่เกิดขึ้น โดยมีการนำระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก และขลุ่ยหลีบ ให้เข้าคู่กับเครื่องดนตรีที่มีอยู่เดิม ในสมัยรัชกาลที่ 4 วงปี่พาทย์มีความเจริญมาก โดยเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ ต่างก็มีวงปี่พาทย์ประจำบ้านกัน และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระราชดำริให้นำลวดเหล็กเล็ก ๆ ที่ทอดพระเนตรจากนาฬิกาตั้งโต๊ะที่กลไกข้างในมีลวดเส้น เล็ก ๆ สั้นบ้างยาวบ้าง ปักเรียงกันถี่ ๆ เป็นวงกลมคล้ายหวีตรงกลางมีแกนหมุนและเหล็กเขี่ยเส้นลวดเหล็กเหล่านั้นผ่านไปโดยรอบที่พระองค์ทรงเรียกว่า นาฬิกาเขี่ยหวี ซึ่งมีเสียงดังกังวานมาสร้าง เป็นระนาดทุ้มเหล็ก และระนาดเหล็กที่เล็กกว่าและมีเสียงสูงกว่า มาเพิ่มเข้าในวงปี่พาทย์ และเรียกวงปี่พาทย์นี้ว่า วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเครื่องดนตรี ระนาดทุ้มเหล็กและระนาดเอกเหล็กที่ทำด้วยทองเหลืองเรียกว่า ระนาดทอง และนำซอด้วงและซออู้มาผสมในวงมโหรีด้วยเรียกว่า มโหรีเครื่องใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงปรับปรุงขึ้นเพื่อบรรเลงประกอบละครวงปี่พาทย์นี้มีชื่อเสียงไพเราะนุ่มนวลกว่า เพราะได้ดัดเครื่องดนตรีที่มีเสียงดังมาก เสียงสูงและเสียงเล็กแหลมออกจนหมด และระนาดเอกก็ตีด้วยไม้นวม รวมทั้งยังนำฆ้องชัยหรือฆ้องหุ่ยมา 7 ลูก เทียบเสียงเรียงลำดับตีห่างๆ คล้ายกับ เบสของฝรั่ง เพิ่มเข้ามา ในสมัยรัชกาลที่ 6 การดนตรีมีความเจริญขึ้นมาก โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งกรมมหรสพ กรมบัญชาการ กรมโขนหลวง กรมพิณพาทย์หลวงกลองเครื่องสายฝรั่งหลวง และกรมช่างมหาดเล็ก สำหรับสร้างและซ่อมสิ่งที่เป็นศิลปะต่าง ๆ และพระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องปี่พาทย์ประดับมุกและประดับงาขึ้น 2 ชุด ประดับเป็นลวดลายวิจิตร มีอักษรพระปรมาภิไธย ม.ว. ซึ่งงดงามมีค่ายิ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งวงเครื่องสาย ส่วนพระองค์ขึ้น โดยพระองค์ทรงซอด้วง และพระบรมราชินีทรงซออู้ พร้อมทั้งเจ้านายอีกหลายพระองค์ อยู่ในวงนั้น นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์ เพลงราตรีประดับดาว เถา เพลงเขมรละออองค์ เถา และเพลงคลื่นกะทบฝั่ง 3 ชั้น ต่อมาเมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 การดนตรีไทยได้ค่อย ๆ เสื่อมลง จนมาถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปแล้ว จึงได้มีการฟื้นฟูดนตรีไทยขึ้นใหม่ จนมาถึงปัจจุบันนี้ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระปรีชาสามารถทางดนตรีสากล และพระราชนิพนธ์เพลงขึ้นหลายเพลงด้วย แต่พระองค์ยังทรงสนพระทัยการดนตรีไทย โดยพระราชทานทุน ให้พิมพ์เพลงไทยเป็นโน้ตสากลออกจำหน่ายจนเป็นที่นิยมของวงการดนตรีทั่วไป